เทคนิคบ้านประหยัดพลังงาน
บ้านพักอาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ แต่บ้านหลายหลังถูกสร้างโดยลืมนึกถึงสภาพภูมิอากาศที่บ้านตั้งอยู่ ใช้วัสดุไม่เหมาะสม รวมถึงการอยู่อาศัยอย่างไม่สอดคล้องกับเมืองร้อน ทำให้ต้องปรับอากาศภาพในบ้าน ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานและทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น หนทางที่จะลดการใช้พลังงานในบ้านพักอาศัย คือ ปรับวิถีชีวิต พฤติกรรม และบ้านเรือนให้สามารถอยู่อาศัยได้สบาย โดยมีการใช้พลังงานน้อยที่สุด หรือหากต้องใช้พลังงาน ก็ใช้อย่างมีประโยชน์ มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งสองแนวทางนั้น ควรทำควบคู่กันไป
เทคนิคบ้านประหยัดพลังงาน ( ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ )
1. หันบ้านให้ถูกทาง
3 คำจำให้แม่น “อยู่เย็นเป็นสุข“ “ร่มรื่น ร่มเย็น“ “โล่ง โปร่ง สบาย”
สภาพแวดล้อมรอบๆบ้านมีส่วนช่วยทำให้บ้านเย็นสบาย เช่น มีต้นไม้ใหญ่ให้
ร่มเงา มีแหล่งน้ำที่ให้ความเย็น ไม่มีอาคารกีดขวางทางลม ฯลฯ
การวางตำแหน่งบ้านที่ดีจะทำให้ภายในบ้าน ได้รับประโยชน์จากธรรมชาติมากที่สุด
ดวงอาทิตย์อ้อมใต้ ความร้อนที่เกิดในบ้านส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งดวงอาทิตย์จะขึ้น ทางทิศตะวันออกแล้วเคลื่อนตัว อ้อมไปทางทิศใต้จนไป ตกทางด้านทิศตะวันตก ดังนั้นการวางตำแหน่งของบ้าน อาจใช้หลัก “เปิดรับแสงด้านเหนือ” และ “กันแดดด้านตะวันตกและใต้” เท่านี้ก็ พอจะสู้รบกับความร้อนได้อย่างดี และประหยัดพลังงานทีเดียว
ลมเหนือและลมใต้ ลมที่พัดผ่านประเทศเรามี 2 ชนิดคือ ลมมรสุมฤดูร้อน ที่พัดมาจากทางทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมฤดูหนาว ที่พัดมาจากทิศเหนือ และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นการจัดวางบ้าน ควรจะจัดให้มีช่องเปิดที่ด้านทิศเหนือ และทิศใต้ ทั้ง 2 ด้าน
2. กางร่มให้บ้าน
ต้นไม้สุดยอดร่มเงา
การปลูกต้นไม้บริเวณรอบๆบ้าน นอกจากความร่มรื่น
ความสดชื่น อากาศบริสุทธิ์ที่ได้รับจากต้นไม้แล้ว ต้นไม้ยังดึงเอาความร้อนที่อยู่รอบๆ ไปทำให้น้ำที่รากดูดขึ้นมาจากใต้ดิน ระเหยเป็นไอน้ำผ่านออกทางปากใบ ทำให้อากาศรอบๆต้นไม้เย็นลง
ติดกันสาดให้บ้าน
การติดตั้งกันสาด หรือแผงกันแดด เป็นการป้องกันความร้อนและแสงแดด ไม่ให้ส่องผ่านหน้าต่างเข้ามา เป็นความร้อนสะสมอยู่ในบ้าน กันสาดหรือแผงกันแดดที่ดีนั้น ต้องกันแสงแดด ไม่ให้ส่องผ่านเข้ามาในบ้านให้มากที่สุด แต่อย่าให้มากไปจนทำให้บ้านมืด
3. อย่าใส่แหล่งความร้อน
การที่ลานรอบบ้านเป็นลานคอนกรีตนั้น
จะเป็นตัวดูดความร้อนโดยเฉพาะที่อยู่ด้านทิศใต้
หรือทิศตะวันตก เมื่อมีลมพัดมาก็จะนำความร้อนและฝุ่นจากพื้นคอนกรีตนี้มาด้วย
ดังนั้นจึงควรจัดให้บ้านมีพื้นที่แบบนี้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ปูฉนวนให้พื้นดิน การปลูกหญ้าหรือไม้คลุมดินรอบๆบ้าน นอกจากเป็น “การปูฉนวนกันความร้อน” ให้กับพื้นดิน ยังเสมือน “ ตัวป้องกันฝุ่น” และยังให้ความร่มรื่นสบายตา ลดการสะท้อนของแสงอีกด้วย
4. ยอมให้ลมพัดผ่าน
ทุกครั้งที่มีลมพัดผ่านตัวเรา
เราจะรู้สึกเย็นสบาย ถ้าบ้านเรามีลม (เย็น)
พัดผ่านเข้าบ้าน บ้านเราอาจไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือเปิดก็เพียงเล็กน้อย
ดังนั้นการวางบ้านหรือช่องหน้าต่างที่เหมาะสมกับทิศ บ้านก็มีโอกาสที่จะรับลมได้
มีทางให้ลมเข้า ต้องมีทางให้ลมออก การให้แต่ละห้องมีหน้าต่างอยู่ด้านตรงข้ามกัน จะทำให้อากาศถ่ายเทในห้องได้มาก รวมถึงอย่าวางเฟอร์นิเจอร์ขวาง หรือบังทางลมเข้าออกด้วย
5. เปิดบ้านรับแสงธรรมชาติที่ดี
การที่แต่ละห้องมีช่องแสงหรือหน้าต่างให้แสงธรรมชาติส่องสว่างเข้ามาในห้องได้นั้น ประโยชน์ที่เห็นชัดที่สุดคือ ไม่เสียสตางค์ค่าไฟฟ้าเพื่อที่จะเปิดโคมไฟ ในเวลากลางวัน
การรับแสงธรรมชาติเข้าบ้านที่ดีนั้นควรอยู่ในทิศทางที่ไม่มีแสงแดดเข้ามา การที่มีช่องแสงหรือหน้าต่างทางทิศเหนือนั้น จะรับแสงสว่างจากธรรมชาติได้ดีที่สุด หรือทางทิศตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือที่ช่วงบ่ายจะไม่โดนแดด ก็จัดว่าได้รับแสงธรรมชาติที่ดีเช่นกัน
6. ปรับที่ และปรับตัว
เชื่อว่าที่บ้านของทุกคนนั้นจะมีบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ไม่ว่าในหรือนอกบ้านที่ค่อนข้างจะเย็นสบาย ที่สุดในแต่ละเวลา เช่น มีร่มเงาลมพัดผ่านอยู่เสมอ เมื่อรู้แล้วว่าเป็นบริเวณใด ลองปรับการใช้สอยของตัวเรา เช่น จัดบริเวณนั้นให้เป็นที่ตั้งโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งเล่น พักผ่อน เท่านี้ก็เป็นการ “เคลื่อนตัวเราหาลมและแสงธรรมชาติ” อย่างง่าย
ตารางช่วยจัดวางห้อง
ชื่อบ้าน บ้านหาร 2
ความต้องการ อยู่สบาย ประหยัดพลังงาน
|
ลักษณะห้อง
|
รับแขก พักผ่อน
|
ทานอาหาร
|
ครัว
|
อาบน้ำ-สุขา
|
ทำงาน - อ่านหนังสือ
|
นอน
|
เก็บของ
|
ทิศเหนือ
แสงดี ไม่ร้อน ลมหนาว
|
ดี
|
ดี
|
|
|
ดี
|
ดี
|
|
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
แสงดี ไม่ร้อน แดดเช้า
|
ดี
|
ดี
|
ดี
|
|
ดี
|
ดี
|
|
ทิศตะวันออก
บ่ายไม่ร้อน แดดเช้า
|
ดี
|
ดี
|
พอใช้
|
|
ดี
|
ดี
|
|
ทิศตะวันออกเฉียงใต้
แดดนิดหน่อย
|
พอใช้
|
ดี
|
พอใช้
|
|
พอใช้
|
ดี
|
|
ทิศใต้
โดนแดดเยอะ ลมฤดูร้อน
|
พอใช้
|
ดี
|
ดี
|
ดี
|
พอใช้
|
พอใช้
|
ดี
|
ทิศตะวันตกเฉียงใต้
แดดเยอะ ลมฤดูร้อน
|
พอใช้
|
พอใช้
|
|
ดี
|
|
|
ดี
|
ทิศตะวันตก
แดดแรง ร้อนจัด
|
|
พอใช้
|
พอใช้
|
ดี
|
|
|
ดี
|
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
แดดเยอะ ปลายลม
|
|
ดี
|
ดี
|
ดี
|
|
|
ดี
|
ปรับตัว โดยให้เสื้อผ้าลดค่าไฟ
การใส่เสื้อผ้าให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และมีการปรับตัวโดยสวมใส่เสื้อผ้า เบา บาง ในหน้าร้อนให้ร่างกายสบาย เพื่อที่จะไม่ต้องตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้ต่ำมาก
7. ติดตั้งฉนวนป้องกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน คือ ?
วัสดุอะไรก็ตามที่สามารถกั้นไม่ให้ความร้อนถ่ายเท หรือส่งผ่านจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง นั่นเอง ยิ่งทำให้ความร้อนผ่านได้อยากเท่าไหร่ ก็ยิ่งถือว่าเป็นฉนวนป้องกันความร้อน ที่ดีมากเท่านั้น
ติดตั้งฉนวนตรงไหนของบ้าน ถึงจะประหยัดพลังงาน และอยู่สบาย ?
ในแต่ละบ้านจะมีการปรับอากาศเพียงบางห้อง บางเวลา ซึ่งจะพอมีข้อแนะนำตามกำลังงบประมาณได้ดังนี้
สำหรับห้องที่มีการปรับอากาศ (ห้องที่ติดแอร์)
- หากมีงบประมาณเพียงพอ ควรติดฉนวนทั้งที่ผนังและหลังคา (ฝ้าเพดาน) ของทุกห้องที่มีการปรับอากาศ เพราะจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานไม่หนัก เนื่องจากสู้รบกับความร้อนที่เกิดภายในบ้านเท่านั้น
- หากมีงบประมาณปานกลาง ควรติดฉนวนที่หลังคา (ฝ้าเพดาน) แล้วเลือกติดที่ผนังด้านที่ร้อนที่สุด 1-2 ด้าน โดยมากจะเป็นด้านที่โดนแดดมากๆ เช่น ทิศใต้ ทิศตะวันตก
- หากมีงบประมาณน้อย เลือกติดที่หลังคา (ฝ้าเพดาน) ก็ยังพอช่วยให้ประหยัดพลังงานได้ เพราะหลังคาจะได้รับความร้อนมากที่สุดเกือบตลอดเวลา
สำหรับห้องหรือบ้านที่ไม่มีการปรับอากาศ (บ้านไม่ติดแอร์)
แนะนำเป็นอย่างยิ่งว่าควรหางบประมาณ สำหรับติดตั้งฉนวนที่หลังคา หรือฝ้าเพดานของชั้นบนสุด เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อน แผ่ลงมาหาเรา หากมีงบประมาณเพียงพอ อาจเลือกติดฉนวนที่ผนังด้านที่ค่อนข้างร้อนเพิ่มเติม
ติดตั้งฉนวนใต้หลังคาหรือฝ้าเพดานได้อย่างไร ?
สำหรับฝ้าเพดานแบบ ที-บาร์ ลักษณะเป็นตารางสามารถยกเปิดแผ่นฝ้าได้ กรณีนี้เจ้าของสามารถทำได้เอง โดยการยกเปิดแผ่นฝ้า แล้วใช้ฉนวนแบบแผ่น หรือแบบม้วน ปูทับไปบนโครงตาราง แล้วปิดแผ่นฝ้าตามเดิม เป็นอันเรียบร้อย การปูก็พยายามให้ชิดกัน
ฝ้าเพดานแบบแผ่นเรียบไม่เห็นรอยต่อระหว่างแผ่น เป็นแบบติดตายไม่สามารถยกเปิดได้ การติดตั้งฉนวนกับฝ้าแบบนี้ด้วยตัวเอง จะยุ่งยากพอควร ทางที่ดีควรหาช่างมาติดตั้งให้ การเลือกใช้ฉนวนก็ใช้ได้ทั้งแบบแผ่นและแบบม้วน
8. เรื่องน่ารู้ก่อนใช้ไฟฟ้า
วัตต์ (WATT) ที่เขียนอยู่บนเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นบอกอะไร ?
วัตต์ (WATT) หรือตัว W ที่มักเขียนติดอยู่ตามหลอดไฟ พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ คือ อัตราการใช้กำลังไฟฟ้า หากวัตต์มาก เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นก็ต้องใช้พลังงานมากด้วย
หน่วยของไฟฟ้า 1,000 วัตต์ จะเรียกว่า 1 กิโลวัตต์ หรือ 1 หน่วยที่การไฟฟ้าเขียนไว้ในบิลค่าไฟฟ้า ว่าบ้านเราใช้ไฟฟ้าไปกี่หน่วยในแต่ละเดือน
ส่วนที่มักทำให้เราเสียค่าไฟมากก็คือเครื่องปรับอากาศ เพราะเครื่องปรับอากาศขนาด 1 ตัน กินไฟฟ้าประมาณ 1,300 วัตต์ ขณะที่พัดลมกินไฟฟ้าเพียง 60-80 วัตต์เท่านั้น
ดังนั้นการจะลดค่าไฟก็ต้องลดการใช้งาน กับอุปกรณ์ตัวที่กินไฟมากๆ จึงจะเห็นผลชัดเจน
บำรุงรักษา คือหัวใจของการใช้อุปกรณ์ ไม่ว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ดีเพียงใด หากไม่มีการบำรุงรักษา เช่น ไม่ยอมถอดแผ่นกรองของเครื่องปรับอากาศมาล้าง หรือวางตู้เย็นชิดผนัง ฯลฯ ต่างๆเหล่านี้อาจทำให้อุปกรณ์เหล่านั้นจากเบอร์ 5 กลายเป็นเบอร์ 1 หรือเบอร์ 2 ได้ทันที
9. กลยุทธ์การลดค่าไฟ
นอกจากเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ทั้งหลาย ถอดปลั๊ก ปิดสวิทซ์ เมื่อไม่ใช้งาน รวมถึงการดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีแล้วยังมีข้อแนะนำอีกดังนี้
เอาของร้อนและชื้นออกไปจากห้องแอร์เครื่องปรับอากาศนั้นมีหน้าที่ในการทำความเย็น หรือ “เอาความร้อนจากในห้องออกไปทิ้งนอกห้อง” แต่สำหรับเมืองไทยแล้ว พลังงานที่ใช้ในการทำความเย็นนั้น เพียงแค่ 30 % ส่วนที่เหลืออีก 70 % นั้นหมดไปกับ ”การทำให้อากาศในห้องแห้ง” ดังนั้นอย่าเอาของร้อน หรือที่มีความชื้นเข้าไปในห้อง เช่น กาต้มน้ำร้อน กระถางต้นไม้
ปิดแอร์อย่าเปิดประตูหน้าต่างทันที การเปิดหน้าต่างทันที หลังจากปิดแอร์นั้น จะทำให้ความชื้นจากภายนอก เข้ามาสะสมอยู่ใน ผ้าห่ม ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน พอตกเย็นเข้ามาเปิดเครื่องปรับอากาศ ก็เลยต้องใช้พลังงาน ในการรีดความชื้นสะสมออกไปอีก
25 องศา ตัวเลขเย็นกำลังดี การตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 25 องศา แทน 24 หรือ 23 องศา ก็เพียงพอที่จะทำให ้ภายในห้องนั้นเย็นสบายแล้ว ถ้าไม่ใส่เสื้อผ้าหลายชั้น เช่น สูท การเพิ่มอุณหภูมิขึ้น 1 องศา จะทำให้ประหยัดค่าไฟได้ 10 % ทีเดียว
เปิดพัดลมช่วยกันดีกว่า การที่ห้องปรับอากาศมีขนาดใหญ่ ลมจากเครื่องปรับอากาศอาจกระจายไม่ทั่งถึง การเปิดพัดลมตั้งพื้นช่วยกระจายความเย็น ให้ทั่วห้องจะประหยัดค่าไฟมากกว่า การลดอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศลง
ทำกิจกรรมในบ้านให้พร้อมกันเช่นการกินอาหารในแต่ละมื้อ ก็จะช่วยลดค่าไฟของไมโครเวฟ ค่าก๊าซหุงต้มจากการอุ่นอาหาร
ใครที่ต้องการสร้างรั้วบ้าน ตามหลักฮวงจุ้ย TMMHOME มีเรื่องนี้มาฝาก
1. ห้ามสร้างรั้วบ้านก่อนสร้างบ้าน
ข้อห้ามนี้คงเคยได้ยินกันมาบ้าง ในตำราให้เหตุผลเอาไว้ว่าเหมือนสร้างคุก รอคนเข้าไปอยู่เพราะกำแพงล้อมทั้งสี่ด้านก็ไม่ต่างไปจากคุกนั่นเอง หลักการสร้างบ้านจะต้องสร้างจากด้านในขยายไปสู่ด้านนอกจึงจะถือว่าถูกต้อง รั้วจึงเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะสร้าง
2. ห้ามสร้างรั้วสูงหรือต่ำเกินไป
การสร้างกำแพงรั้วสูงจะปิดบังลมที่พัดเข้าบ้าน และผู้อยู่อาศัยจะรู้สึกอึดอัดเหมือนอยู่ในที่คุมขัง การสร้างรั้วสูงส่วนใหญ่จะเหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่มากๆ แล้วตัวบ้านไม่ได้อยู่ชิดรั้วมากจนเกินไปความรู้สึกอึดอัดก็จะลดน้อยลง ถ้าสร้างรั้วต่ำก็ล่อแหลมต่อการถูกโจรขโมยขึ้นบ้าน เพราะฉะนั้นจึงควรกำหนด ความสูงของรั้วให้อยู่ในระดับที่พอดี
3. รั้วโปร่งดีกว่าทึบ
การสร้างรั้วโปร่งจะให้ความรู้สึกสบายไม่อึดอัดกับผู้อยู่อาศัยในบ้านการไหลเวียนของลมที่พัดเข้าสู่บ้านก็จะได้ประโยชน์เต็มที่ แต่ถ้าเป็นกรณี ของบริษัท โรงงาน โกดังเก็บของ อาจจำเป็นจะต้องสร้างรั้วทึบเพื่อป้องกันโจรขโมย เพราะฉะนั้นการสร้างรั้วจึงต้องดูที่ความจำเป็นและประโยชน์ใช้สอยด้วย
4. ห้ามเจาะช่องหน้าต่างที่กำแพงรั้ว
ถ้ารั้วเป็นกำแพงทึบ การเจาะ ช่องที่กำแพง ถือเป็นข้อห้าม เพราะจะทำให้ชี่บ้านนั้นจะเก็บทรัพย์เอาไว้ไม่อยู่ นอกจากนี้ บ้านยังขาดความมั่นคง โจรขโมยสามารถมองเห็นภายในบ้านได้ง่าย
5. รั้วบ้านห้ามทำเป็นลูกกรงซีกหรือเหล็กแหลม
ลักษณะของรั้วลูกกรงที่มีเหล็กแหลมอยู่ด้านบนคนที่อยู่ในบ้านก็ไม่ต่างไปจากสัตว์ที่ถูกขังอยู่ในกรงหรือกรณีที่เอาเศษแก้วไปเสียบเอาไว้บนขอบรั้ว กำแพงเพื่อป้องกันขโมยปีกเข้าบ้านก็จะเข้าข่ายเดียวกันในทางฮวงจุ้ยถือว่าไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง ถ้าจะใช้รั้วแบบนี้ ควรจะมีการแต่งลวดลายโค้งวงกลมเสริมเข้าไปยอดบนที่มีลักษณะลูกศรที่แหลมคมก็ใช้วงกลมใส่แทนเข้าไปเพื่อลดความรู้สึกก้าวร้าว ของความแหลมคมล
6. วัสดุในการสร้างรั้วเป็นไม้ดีที่สุด
การสร้างรั้วบ้านโดยใช้วัสดุที่เป็นไม้จะให้ความรู้สึกที่ดีและเหมาะกับบ้านอยู่อาศัยมากที่สุด เพราะไม้เป็นวัสดุจากธรรมชาติโดยตรง คนในบ้าน จะรู้สึกใกล้ธรรมชาติมากกว่ารั้วที่เป็นปูนหรือเหล็ก แต่ในปัจจุบันรั้วบ้านส่วนใหญ่ จะวัสดุที่เป็นปูนผสมเหล็กเพราะแข็งแรงกว่า และประหยัดกว่าการใช้ไม้ที่มีราคาค่อนข้างแพง ถ้ารั้วจะเป็นปูนหรือเหล็กก็คงไม่ผิดอะไรขอให้แข็งแรงเป็นใช้ได้
7. การปลูกต้นไม้ทำเป็นรั้ว
ลักษณะรั้วแบบนี้มีให้เห็นไม่บ่อยนัก เพราะคนไม่ค่อยนิยมทำกันเนื่องจากมองว่าแข็งแรงสู้รั้วปูนไม่ได้ นอกจากนี้ยังดูแลยากต้องคอยตัดแต่งต้นไม้อยู่เสมอ ส่วนใหญ่จะนิยมทำกันตามบ้านที่มีระบบการรักษาความปลอดภัยดีอย่างหมู่บ้านใหญ่ ๆ เพราะไม่ต้องห่วงในเรื่องของโจรขโมยขึ้นบ้าน ในทางฮวงจุ้ยถือว่ารั้วแบบนี้เป็นรั้วธรรมชาติจริง ๆ ย่อมส่งผลดีต่อบ้านนั้นมากกว่าเสีย
8. รั้วที่ชำรุดหรือแตกร้าวเป็นลางร้าย
ในทางฮวงจุ้ยจะให้ระวังสิ่งที่เสื่อมสภาพหรือชำรุด เพราะถือเป็นลางร้ายที่บ่งบอกว่าบ้านหลังนั้นจะประสบกับปัญหาเจ้าของบ้านจะพบกับความล้มเหลวได้ รั้วบ้านที่แตกร้าวผุผังแทนความหมายของความมั่นคงที่ถูกทำลายลง เพราะสิ่งที่ป้องกันภัยจากนอกบ้านกำลังเสื่อมสภาพลง เพราะฉะนั้นจึงควรหมั่นดูแลรักษาสภาพของรั้วให้แข็งแรงและดูใหม่อยู่เสมอ
เพียงเท่านี้ ก็เลือกสร้างรั้วให้เหมาะกับฮวงจุ้ยได้แล้ว